วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 28 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 102 วันพุธและวันพฤหัสบดี  
เวลาเข้าเรียน วันพุธ 8.30-10.10 น. , วันพฤหัสบดี 12.20-15.00 น. 

วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558


 หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ
     ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ ศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • ประสบการณ์ด้านการสำรวจตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
  • ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
  • ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกและการใช้ประสาทสัมผัส
          ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และสถานการณ์ต่าง ๆ
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • การสอนศิลปะเด็กไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
  • การสอนศิลปะเด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงามละเอียดอ่อนและให้ความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงขึ้นต่อไป
  • การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
       ๑. ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕
       ๒. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน
       ๓. พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพ

บทบาทของครูศิลปะ
  • ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ    
          - เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (ในการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
          - เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
          - เป็นผู้ดูแลให้เด็กสร้างสรรค์งาน (ให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ)
          - เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิดกล้าตัดสินใจ)
          - เป็นผู้อำนวยความสะดวก (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะหลากหลาย)

บทบาทของครู ( เลิศ อานันทะ : 2533 )
๑. สอนด้วยใจรัก และเอาใจใส่
๒. ยอมรับความสามารถเด็กแต่ละคน
๓. เปิดโอกาสและให้อิสระเด็กในการสร้างผลงานไม่รีบร้อนแก้ไขงาน
๔. ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก หรือแก้ปัญหาแทนเด็ก แต่ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก
๕. กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ
๖. มีการวางแผน + จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้าพร้อมทำกิจกรรม
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
๑. หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะหรือใช้สมุดภาพระบายสี เพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
๒. ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้.. ลองทำดูสิ
๓. ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ ให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจและเข้าใจในผลงานของตนเอง
๔. ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงานเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
๕. ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็กและมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม
๖. มีส่วนในการช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
๗. มีส่วนช่วยขยายประสบการณ์ทางศิลปะของเด็กไม่อยู่แต่ในห้องเรียนควรพาเด็กออกสำรวจ สัมผัส ทัศนศึกษา เยี่ยมชมงานศิลปะตามแหล่งต่าง ๆ

การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • การสร้างข้อตกลงและระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
  • การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
  • การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด ( ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ )
  • การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
  • การจัดเก็บผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน 
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • ขั้นตอนการสอนศิลปะ
          ๑. เลือกเรื่องที่จะสอน
          ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน  
          ๓. เตรียมการก่อนสอน
              - เตรียมแผนการสอน - เรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา สื่อ การสอน จำนวนเด็ก จำนวนกิจกรรม สถานที่
              - เตรียมอุปกรณ์การสอน
          ๔. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
          ๕. ทำการสอนจริงตามแผน
          ๖. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น การแบ่งกลุ่มเด็ก การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน การปฏิบัติตามข้อตกลง
          ๗. การปฏิบัติงานของเด็กโดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อและจดบันทึกข้อมูล
          ๘. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
          ๙. การประเมินผลงานเด็ก

เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
  • เข้าถึง  - ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
  • เข้าใจ  - ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • ให้ความรัก  - รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
  • สร้างสรรค์บรรยากาศ  - หลากหลาย สนุกสาน อิสระ
  • มีระเบียบวินัย  - มีข้อตกลงร่วมกันและปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
  • ปลอดภัย  - คำนึงถึงความปลอดภัยเป้นหลัก
การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
  • ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก
  • เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
  • เน้นการเรียนปนเล่น
  • สนับสนุน / เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี



Homework
      

กิจกรรมที่ 1 :  วาดภาพระบายสี
คำสั่ง :  วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม





กิจกรรมที่ 2 :  ออกแบบลวดลาย
คำสั่ง :  วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง

  


กิจกรรมที่ 3 : ออกแบบลวดลาย
คำสั่ง :  วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี





การนำไปประยุกต์ใช้

        สามารถนำบทบาทครูศิลปะไปปรับบุคลิกภาพของตนเอง และนำเรื่องลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัยไปปรับใช้ในการสอนกับเด็กอย่างเหมาะสมตรงตามพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุและส่งเสริมให้เด็กสนใจในการเรียนศิลปะมากขึ้น






การประเมินผล

  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอน และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอนและสนุกสนานในการเรียน
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาที่เรียนและงานที่ได้มอบหมายให้กับนักศึกษาได้เข้าใจ มีภาพตัวอย่างให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลงาน 


วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 2
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 21-22 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 102 วันพุธและวันพฤหัสบดี  
เวลาเข้าเรียน วันพุธ 8.30-10.10 น. , วันพฤหัสบดี 12.20-15.00 น. 


วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558

          อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม
กิจกรรม : วาดภาพระบายสี
คำสั่ง : วาดภาพหัวข้อ " มือน้อยสร้างสรรค์ "



ผลงานของฉัน 
ชื่อผลงาน " มือหลากสี "


รวมภาพผลงานของเพื่อน ๆ





วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2558
          
          ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือเป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

 
  • ความงาม ( ทางกาย , ทางใจ )
  • รูปทรง
  • การแสดงออก
            " ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและความพึงพอใจ "
  • Art มีรากฐานมาจาก ภาษาลาตินว่า Ars หมายถึง ทักษะ หรือ ความชำนาญ หรือ ความสามารถพิเศษ
  • ศิลปะในภาษาไทย มาจากสันสกฤตว่า ศิลปะ
  • ภาษาบาลี ว่า สิปป มีความหมายว่า ฝีมืออันยอดเยี่ยม
  • สิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต ความนึกคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม ( โลเวนฟิลด์และบริเตน, 1975 )
  • ศิลปะที่มองเห็นได้ ที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ คือศิลปะสองมิติ หรือ สามมิติ แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง ( วิรุณ ตั้งเจริญ, 2526 )
  • งานศิลปะสำหรับเด็ก ไม่ใช่เพียงแต่การวาดภาพ ระบายสี หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆเท่านั้น แต่หมายถึงการแสดงออก การสื่อสาร การถ่ายทอด จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม ( สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล, 2545 )
ปรัชญาศิลปศึกษา
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • เป็นเครื่องมือในการแสดงออกและใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
  • ความรู้สิ่งที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
  • สนับสนุนในเรียนรู้ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งต่างๆ
  • นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
  • เด็กชอบวาดรูป ขีดๆ เขียนๆ
  • เด็กมีความคิด จินตนาการ
  • เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้
  • เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
  • เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย 
            - ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
  • ช่วยขัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
            - กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย
  • ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
  • ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  • ทฤษฎีพัฒนาการ
               -  พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ ( Lowenfeld )
  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
               - ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ( Guilford )
               - ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ( Torrance )
               - ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ ( สมอง สองซีก )
               - ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ( Gardner )
               - ทฤษฎีโอตา ( Auta )

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ( Guilford )
  • นักจิตวิทยาชาวอเมริกา
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา
                 -  เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
                 -  ความมีเหตุผล
                 -  การแก้ปัญหา
ความสามารถทางสมอง
       กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
  • มิติเกี่ยวกับ ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
  • สมอง รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ
             -  ภาพ
             -  สัญลักษณ์
             -  ภาษา
             -  พฤติกรรม
มิติที่ 2  วิธีการคิด
  • มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ
           -  การรู้จัก การเข้าใจ
           -  การจำ
           -  การคิดแบบอเนกนัย ( คิดได้หลายแบบ หลากหลาย )
           -  การคิดแบบเอกนัย ( ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด )
           -  การประเมินค่า
มิติที่ 3  ผลของการคิด
  • มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2
  • มี 6 ลักษณะ
          -  หน่วย
          -  จำพวก
          -  ความสัมพันธ์
          -  ระบบ
          - การแปลงรูป
          -  การประยุกต์
  • สรุป
          -  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
          -  ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ คือ มีเนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ และผลทางการคิด 6 มิติ
             รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง ฟลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ( Torrance )
  • นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง ชาวอเมริกัน
  • เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า 
          ประกอบด้วย
                -  ความคล่องแคล่วในการคิด
                -  ความยืดหยุ่นในการคิด
                -  ความริเริ่มในการคิด
  • แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น
               -  ขั้นการค้นพบความจริง
               -  ขั้นการค้นพบปัญหา
               -  ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
               -  ขั้นการค้นพบคำตอบ
               -  ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
ขั้นที่ 1  การค้นพบความจริง
  • เป็นขั้นเริ่มต้น ค้นหาสาเหตุ
  • ในการทำงานเริ่มแรกต้องมีการคิดค้นหรือหาข้อมูลต่างๆ จะเกิดความรู้สึกกังวล สับสน วุ่นวาย แล้วค่อยๆปรับตัว พยายามคิดหาสาเหตุว่าสิ่งที่มำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2  การค้นพบปัฐหา
  • เป็นขั้นที่สามารถคิดได้และเกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
ขั้นที่  3  การตั้งสมมุติฐาน
  • เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา
  • หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่ 4  การค้นพบคำตอบ
  • เน้นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐานด้วยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 5  ยอมรับผลการค้นพบ
  • ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้นได้ผลเป็นอย่างไร
  • สรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหาหรือทางออกที่ดีที่สุด
  • สรุป  ทอร์แรนซ์กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่ขาดหายไปแล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบสมมุติฐานและเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ ทำให้เกิดแนวทางในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป
  • ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ ( สมอง สองซีก )
  • เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
  • การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
              สมองซีกซ้าย  -------->  ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
              สมองซีกขวา   -------->  ทำงานส่วนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  • แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซึก
  • คือ สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี
  • ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผลจะพัฒนาในช่วง 9-12ปี และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 11-13 ปี
  • ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่ให้ความสนใจการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร
                ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ มุ่งการพัฒนาสมองซีกซ้าย ด้วยการให้เด็กท่องจำ คำนวณ คิดเลข สรรหาถ้อยคำ วิเคราะห์ข้อมูลและอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป การคิดจินตนาการ การคิดแปลกใหม่ ความเป็นศิลปิน จึงไม่ค่อยมีโอกาสพัฒนา
  • นักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสำคัญและสนับสนุนการทำงานของสมอง 2 ซีกอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะบรรดางานค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ งานสร้างสรรค์ศิลปะและความคิดแปลกใหม่ ล้วนเกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา
  • แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา
                -  ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
                -  มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4MAT
                -  มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ( Gardner )
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายขิงสติปัญญา
  • ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา (ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
  • ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่
          -  ความสามารถด้านภาษา
          -  ความสามารถด้านดนตรี
          -  ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
          -  ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
          -  ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
          -  ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
          -  ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
          -  ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
          -  ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
1. ความสามารถด้านภาษา
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  เรียนรู้และเข้าใจคำพูดต่างๆ ได้เร็วเกินวัย
    -  เลือกใช้คำได้หลากหลาย มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการพูดจูงใจ การโน้มน้าว การอธิบาย การเล่านิทาน การโต้เถียง การใช้เหตุผล ตลอดจนการเขียนข้อความบรรยาย เขียนสรุปจะทำได้ดีมาก เด็กจะมีลักษณะนิสัยชอบคิดชอบเขียน ความจำดี
2. ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  มีความถนัดเรื่องคณิตศาสตร์ เข้าใจเรื่องตัวเลขได้เร็ว
    -  ใช้เงินเป็นและเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน
    -  มีความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การทดลอง การสำรวจ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การใช้เหตุผล
3. ความสามารถด้านดนตรี
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  ถนัดและเก่งดนตรี
    -  ชอบฟังเพลง ร้องเพลง และจำเนื้อเพลงได้เร็ว
    -  ตอบสนองกับจังหวะดนตรีได้ดี เต้นตามจังหวะดนตรีได้
    -  สนใจและสนุกกับการเล่นเครื่องเล่นดนตรีเป็นพิเศษ เด็กจะมีลักษณะนิสัยอารมณ์ดี ชอบร้องชอบเต้น
4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  มีความสามารถในการเห็นภาพรวม
    -  สามารถใช้พื้นที่ในการวาดภาพได้ดี ขนาดและสัดส่วนเหมาะสม
    -  เข้าใจวิธีการลอกลาย
    -  เขียนแผนที่ได้ดี เข้าใจเรื่องทิศทาง เส้นทาง
    -  มองเห็นโลกในมุมที่ถูกต้องตามความเป็นจริง
5. ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ชอบการวิ่งเล่น ออกกำลังกาย เต้นรำ
    -  มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อได้ดี ทั้งการเดิน ยืน นั่ง วิ่ง กระโดด มีทักษะการทรงตัวที่ดี
6. ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  ชอบบริการผู้อื่น ช่างเอาอกเอาใจ
    -  ชอบช่วยเหลือเพื่อน
    -  พูดจาไพเราะ มารยาทอ่อนหวาน น่ารัก
    -  ปรับตัวเข้ากับทุกคนได้ดี กล้าพูดกล้าแสดงออก ชอบพบปะผู้คนหลากหลาย ชอบเข้าสังคม ไม่กลัวคนแปลกหน้า
    -  ชอบสังเกต มองเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
   -  ชอบเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย
   -  สามารถเขียนบันทึกประจำวันได้ดี
   -  สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นพยายามในการหาคำตอบ
   -  เข้าใจความรู้สึกของตนเอง อารมณ์มั่นคง
8. ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  ชอบเรียนรู้ธรรมชาติ/ สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
    -  ชอบทัศนศึกษา ออกสำรวจโลกภายนอก
    -  จิตใจดี รักสัตว์ รักต้นไม้ ชอบปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
    -  ชอบสังเกตความแตกต่าง เปรียบเทียบสิ่งที่อยู่รอบตัว
9. ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่าง
    เด็กที่มีความสามารถด้านนี้
    -  คิดไว มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี
    -  รู้จักเลือก หรือหาวิธีในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
    -  เป็นเด็กช่างคิด สามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ
    -  ไม่หยุดนิ่งทางความคิด ชอบเทคโนโลยี
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
  • ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
  • ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
  • ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
  • ปัญญาต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้
  • ในปัญญาแต่ละด้านก็มีความสามารถหลายอย่าง

ทฤษฎีโอตา ( Auta )
เดวิส ( Davis ) และซัลลิแวน  ( Sullivan )
       ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธีและการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก
        ตั้งตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น
     -  การพัฒนาปรีชาญาณ
     -  การรู้จักและเข้าใจตนเอง
     -  การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
     -  การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ
        มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่าง ๆ  
     -  มีความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
     -  ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
     -  ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์
     -  เทคนิค วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 3 เทคนิควิธี
        การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
     -  เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์
     -  การระดมสมอง
     -  การคิดเชิงเปรียบเทียบ
     -  การฝึกจินตนาการ
ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่าง ๆ
        การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
     -  เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
     -  มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง
     -  สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม

วงจรของการขีดๆ เขียนๆ
  • เคลล็อก ( Kellogg ) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัยและจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
ขั้นที่ 1  ขั้นขีดเขี่ย ( placement stage )

  • เด็กวัย 2 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
  • ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
  • ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ( shape stage )
  • เด็กวัย 3 ขวบ
  • การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
  • เขียนวงกลมได้
  • ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น

ขั้นที่ 3  ขั้นรู้จักออกแบบ ( design stage )
  • เด็กวัย 4 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
  • วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
  • วาดสี่เหลี่ยมได้

ขั้นที่ 4  ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ ( pictorial stage )
  • เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
  • เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
  • รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
  • ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
  • วาดสามเหลี่ยมได้


พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
  • ด้านการตัด
          -  อายุ 3-4 ปี  ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
          -  อายุ 4-5 ปี  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
          -  อายุ 5-6 ปี  ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้
  • การขีดเขียน
          -  อายุ 3-4 ปี  เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
          -  อายุ 4-5 ปี  เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
          -  อายุ 5-6 ปี  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • การพับ
          -  อายุ 3-4 ปี  พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
          -  อายุ 4-5 ปี  พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
          -  อายุ 5-6 ปี  พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
  • การวาด
          -  อายุ 3-4 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
          -  อายุ 4-5 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ลำตัว เท้า
          -  อายุ 5-6 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน มือ คอ ผม



การนำไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำกิจกรรมไปปรับใช้ในการเรียนการสอน ให้เด็กได้ฝึกการคิด การออกแบบผลงานและการสังเกตในการเลือกลงสีแต่ละสี และสามารถนำจุดเด่นของทฤษฎีแต่ละทฤษฎีไปปรับใช้ในการสอนกับเด็กได้อย่างเหมาะสมตรงตามพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุ






การประเมินผล

  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้ฝึกการคิดในออกแบบ การลงสี ผลงานของเพื่อนๆมีความแตกต่างกันและสวยงาม
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายการทำกิจกรรมได้เข้าใจ อาจารย์เดินดูผลงานของนักศึกษาขณะทำงานเพื่อให้คำชี้แนะ และอาจารย์อธิบายรายละเอียดของเนื้อหาได้ชัดเจน


วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 1
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 14-15 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 102 วันพุธและวันพฤหัสบดี  
เวลาเข้าเรียน วันพุธ 8.30-10.10 น. , วันพฤหัสบดี 12.20-15.00 น. 
  

วันพุธ ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2558

           วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวการสอน เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์และเกณฑ์การให้คะแนน  ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนจากการศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้า รวมถึงเรื่องกฏกติกา ข้อตกลงต่างๆ ภายในห้องเรียน


วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ.2558

           อาจารย์ให้นักศีกษาดู VDO ด.เด็ก ช.ช้าง ก่อนเข้าสู่บทเรียน



          ความรู้ที่ได้รับจากการดู VDO 
          ครูไม่ควรตัดสินผลงานจากการดูแค่ผลงานที่เด็กทำแต่ควรดูถึงกระบวนการทำงานของเด็ก และครูไม่ควรนั่งอยู่นิ่งเฉย ควรเดินดูขณะเด็กทำงานเพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมและกระบวนการต่างๆ ที่เด็กลงมือกระทำ  ( สังเกตจากการทำงานของเด็กเป็นหลัก และผลงานของเด็กเป็นรอง )


         จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้
กิจกรรม : วาดภาพระบายสี
หัวข้อ : วาดตนเองตามจินตนาการ




วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2558

          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ระดมความคิดตามหัวข้อที่กำหนดให้ ดังนี้
1. ศิลปะคืออะไร มีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
2. ศิลปสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในแนวคิดของนักศึกษาเป็นอย่างไร
3. คุณลักษณะของครูปฐมวัยที่สอนศอลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีลักษณะอย่างไร
4. ครูปฐมวัยควรสอนศิลปะอะไรให้กับเด็กปฐมวัย
5. ให้นักศึกษายกตัวอย่างศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
6. นักศึกษาจะมีวิธีการประเมินผลงานทางศิลปะของเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
7. นักศึกษามีความคาดหวังอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้


ขั้นตอนการทำงาน




ผลงานของกลุ่มดิฉัน




นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม



















การนำไปประยุกต์ใช้

       สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กร่วมกันระดมความคิดเพื่อดึงประสบการณ์เดิมของเด็กและเป็นการประเมินความรู้เบื้องต้นของเด็กว่าเด็กมีความรู้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะสามารถจัดกิจกรรมหรือการเรียนการสอนได้ตรงตามความสามารถของเด็ก รวมถึงเรื่องการประเมินผลงาน ต้องสังเกตจากการทำงานของเด็กเป็นหลัก และผลงานของเด็กเป็นรอง






การประเมินผล

  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อน
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน จะสังเกตเห็นว่าขณะที่ทำกิจกรรมวาดภาพตนเองตามจินตนาการเพื่อนส่วนใหญ่จะตกใจเมื่อทราบหัวข้อและบอกว่าตนเองวาดไม่ได้ แต่ทุกคนก็ตั้งใจทำและผลงานของเพื่อนๆทุกคนออกมาได้น่าประทับใจมาก  
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ชี้แจงกฎกติกาข้อตกลงต่างๆ ชัดเจนและมีVDO ด.เด็ก ช.ช้าง ให้นักศึกษาดูซึ่งเป็นเป็นประโยชน์และให้ข้อคิดที่ดีๆ ต่อนักศึกษาเป็นอย่างมากในการปฎิบัติตน